Menu
สคบ. เผยข้อแตกต่างระหว่าง การขายตรง กับ แชร์ลูกโซ่

สคบ. เผยข้อแตกต่างระหว่าง การขายตรง กับ แชร์ลูกโซ่

ลักษณะของธุรกิจแชร์ลูกโซ่

  1. มีการชักชวนประชาชนให้สมัครเป็นสมาชิกให้ร่วมเข้าเป็นเครือข่าย โดยโดยจะไม่มุ่งเน้นในการจำหน่ายสินค้าหรือบริการ

     

  2. ผลตอบแทนจากธุรกิจมาจากการหาสมาชิกมาเข้าร่วมลงทุนเพิ่ม ไม่ได้มาจากการจำหน่าย สินค้าหรือบริการ

     

  3. มีการเก็บค่าสมัครสมาชิกค่อนข้างสูง และจะมีการให้ซื้อสินค้าที่มีคุณภาพต่ำ

  4. มีการดำเนินงานอย่างเป็นขบวนการ มีแม่ทีมในการออกหาสมาชิกเพิ่ม

ลักษณะของธุรกิจขายตรง

  1. ค่าธรรมเนียมในการเริ่มต้นธุรกิจมีอัตราไม่สูงมาก เป็นค่าสมัคร จ่ายเพื่อเอกสารคู่มือ ความรู้ เอกสารอบรมและผลิตภัณฑ์ตัวอย่างสินค้าเท่านั้น
  2. สินค้าจะมีคุณภาพสูง ยอดขายจะมาจากการจำหน่ายสินค้า เน้นที่ความพึงพอใจของลูกค้าเป็นสำคัญ มีการรับประกันสินค้าโดยการคืนเงิน และจะมีการเปลี่ยนสินค้าหรือขายสินค้าคืนบริษัทได้
  3. การจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนจะขึ้นอยู่กับการทำงานของคนขาย และยอดขาย ซึ่งหมายถึงรายได้หรือผลประโยชน์ตอบแทนมาจากการขายสินค้า

  4. ธุรกิจขายตรงที่ถูกกฎหมายมีโอกาสเติบโตได้เสมอ เนื่องผู้บริโภคจะมีการซื้อสินค้าซ้ำเพราะ พอใจในสินค้า บริษัทจึงสามารถออกสินค้าใหม่เพื่อขยายตลาดได้

  5. การได้ความคุ้มครองทางกฎหมาย โดยผู้บริโภค ผู้ขาย และบริษัทขายตรงจะได้รับความคุ้มครองตาม กฎหมาย (พรบ.ขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545) ซึ่งผู้ประกอบการที่จะทำธุรกิจขายตรงจะต้องขอจดทะเบียน ณ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)

ทั้งนี้หากพบรูปแบบขบวนการแชร์ลูกโซ่ สามารถแจ้งเบาะแสได้ที่

  • กรมสอบสวนคดีพิเศษ
  • สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง
  • สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
  • สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค หรือสายด่วน สคบ. 1166
หมวดหมู่:
บทความ